Hetalia Mochi - Ukraine

ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่blogการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

ความรู้วิชา ดนตรี/นาฏศิลป์

 





ความรู้ที่1 เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย


เครื่องดนตรีไทยเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการพัฒนามาตลอด แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องมือและเครื่องเป่า ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะหรือหลักการเกิดเสียงที่เป็นธรรมชาติของตนเอง
การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทย
ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยแบ่งเครื่องดนตรีไทยออกเป็น ๔ ประเภท โดยยึดหลักการทำให้เกิดเสียงและวิธีการบรรเลง คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า
- เครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ พิณน้ำเต้า ซึง จะเข้ กระจับปี่
- เครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ สะล้อ
- เครื่องตี จำแนกออกเป็น ๓ จำพวก คือ
- เครื่องตีที่ทำด้วยไม้ ได้แก่ กรับคู่ กรับพวง กรับเสภา ระนาดเอก
- เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ มโหระทึก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องคู่ ฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ
- เครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง ได้แก่ กลองทัด กลองชาตรี ตะโพนไทย ตะโพนมอญ กลองตะโพน โทนชาตรี โทนมโหรี รำมะนามโหรี รำมะนาลำตัด กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ เปิงมางคอก กลองสองหน้า ตะโล้ดโป็ด บัณเฑาะว์ กลองยาว กลองแเอว กลองสะบัดไชย


- เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ใน ปี่กลาง ขลุ่ย แตรงอน แตรสังข์

๑. เครื่องดีด
เครื่องดีด คือ เครื่องดนตรีที่มีสายและกะโหลกเสียงหรือกล่องเสียงเป็นส่วนประกอบทำให้เกิดเสียง โดยใช้นิ้วหรือไม้ดีดสาย เพื่อให้สายสั่นสะเทือน ได้แก่ พิณเปี๊ยะ พิณน้ำเต้า ซึง จะเข้ กระจับปี่
๒. เครื่องสี คือ เครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดีด เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสาย มีกะโหลกเสียงเป็นส่วนประกอบสำคัญ เช่นเดียวกับเครื่องดีดในดนตรีไทยมีหลายประเภท เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ สะล้อ
เครื่องตี
เครื่องตี คือ เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงได้โดยการตี หรือการเคาะ แบ่งตามวัตถุที่ทำได้ ๓ ประเภท คือ
- เครื่องตีที่ทำด้วยไม้ ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับคู่ กรับพวง กรับเสภา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม โปงลาง
- เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ ฆ้องมอญ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ มโหระทึก
- เครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง ได้แก่ กลองทัด กลองตุ๊ก ตะโพน บัณเฑาะว์ กลองมลายู โทน  
๔. เครื่องเป่า
           เครื่องเป่าที่มนุษย์รู้จักใช้มาแต่เดิม ได้แก่พวกหลอดไม้ไผ่ ใส่ลูกดอกใช้เป่าในการล่าสัตว์ ต่อมาใช้เป่าเขาสัตว์เป่าเพื่อบอกเหตุต่างๆ ระยะหลังรู้จักทำลิ้นและเจาะรูให้สามารถเปลี่ยนระดับเสียงได้ นำมาเล่นเป็นทำนอง เช่น ขลุ่ย และ ปี่ชนิดต่าง ๆ
เครื่องเป่า คือ เครื่องดนตรีทีทำให้เกิดเสียงด้วยการเป่า มี ๒ ประเภท คือ 
๑.ไม่มีลิ้น 
.มีลิ้น

ความรู้ัวิชาลูกเสือ(วิธีการผูกเงื่อนต่างๆ)

 

วิธีการผูกเงื่อนพิรอด

1

นำเชือกสองเส้นแล้ววางเชือกทางด้านขวาทับอีกเส้น.

2พันเชือกเส้นขวา ใต้ เชือกเส้นซ้าย.

3เอาเชือกเส้นขวายกกลับขึ้นมาทับเชือกเส้นซ้าย.

4
นำเชือกด้านขวาเดิมมาวางเหนือเชือกอีกเส้น.

5
ดึงเชือกเส้นขวาเดิมไป ใต้ เชือกอีกเส้น.

6
ดึงปลายทั้งสองข้างให้แน่น.

7
ตรวจปมเงื่อนพิรอด.

8
คลายปมเงื่อนโดยการดึงวงนั้นไปทางข้างนอก.

วิธีการผูกเงื่อนขัดสมาธิ

1.  ใช้เชือกเส้นที่ใหญ่กว่าหรือแข็งกว่าทำเป็นบ่วง สอดปลายเชือกเส้นเล็กจากข้างล่างเข้าไปในบ่วง

2.  นำเชือกเส้นเล็กม้วนอ้อมเชือกเส้นใหญ่ทั้งคู่  ตรงบริเวณคอบ่วง

3.  ทำต่อเนื่องจากขั้นตอนที่ 2 โดยดึงปลายเชือกเส้นเล็กขึ้นไปล่อเส้นตัวเอง เป็นการขัดไว้ จัดเงื่อนให้แน่น ให้เรียบร้อย

วิธีการผูกเงื่อนตะกรุดเบ็ด

1.  คาดเชือกอ้อมเสาไปทางด้านหลังแล้วดึงกลับมาทางด้านหน้า

2.  ดึงเชือกอ้อมเสาไปทางด้านหลังอีกครั้งหนึ่งแล้ววกกลับมาวนรอบตัวเอง

3.  ดึงเชือกให้ตึง จับเชื่อกให้แน่น





ความรู้วิชา ภาษาจีน

 

ความรู้ที่1 กิจวัตรประจำวัน
ความรู้ที่2  การบอกช่วงเวลา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาฬิกา png


การบอกช่วงเวลาในภาษาจีน

การบอกเวลาในภาษาจีนจะแบ่งเป็นสองช่วงเวลาคือ ช่วง 12 เช้า (01:00-12:00) และ
ช่วง 12 บ่าย (13:00-24:00) กล่าวคือ การบอกเวลาในภาษาจีนจะใช้แค่เลข 1-12 เพื่อบอกเวลา 
ดังนั้นมาดูกันนะคะว่ามีอะไรบ้าง

        การบอกช่วงเวลา

凌晨   língchén  (หลิง เฉิน) ก่อนฟ้าสาง,ก่อนรุ่งสาง

早晨   zǎochén (จ่าว เฉิน)        รุ่งอรุณ,รุ่งสาง

早上   zǎoshang (จ่าว ชัง)       ตอนเช้า

上午   shàngwǔ  (ชั่ง อู่ว)      ตอนสาย,ยามสาย

中午   zhōngwǔ  (จง อู่ว)      ตอนเที่ยง

下午   xiàwǔ        (เซี่ย อู่ว)       ตอนบ่าย

晚上   wǎnshàng (หว่าน ชั่ง)      ตอนเย็น,ยามเย็น

傍晚   bàngwǎn  (ป้าง หว่าน)    พลบค่ำ,โพล้เพล้

夜晚   yèwǎn      (เย่ หว่าน)      กลางคืน

半夜   bànyè       (ป้าน เย่)      เที่ยงคืน

零点   língdiǎn     (หลิง เตี่ยน)      เที่ยงคืน


 


ความรู้วิชา ภาษาไทย

 

เรื่องที่1 คำนาม/คำสรรพนาม
 คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ อาคาร สภาพ และลักษณะทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

          1.สามานยนาม คือ คำนามสามัญที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือเป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
เช่น คน , รถ , หนังสือ, กล้วย เป็นต้น สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆของสิ่งต่างๆ เรียกว่า
สามานยนามย่อย เช่น คนไทย , รถจักรายาน , หนังสือแบบเรียน , กล้วยหอม เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

ดอกไม้อยู่ในแจกัน
แมวชอบกินปลา

         2.วิสามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สถานที่ หรือเป็นคำเรียกบุคคล สถานที่เพื่อ
เจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งใด เช่น ธรรมศาสตร์ , วัดมหาธาตุ , รามเกียรติ์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

นิดและน้อยเป็นพี่น้องกัน
อิเหนาได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของกลอนบทละคร

         3.ลักษณนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนาม
นั้นให้ชัดเจนขึ้น เช่น รูป , องค์ , กระบอก เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

คน 6 คน นั่งรถ 2 คน
ผ้า 20 ผืน เรียกว่า 1 กุลี

         4.สมุหนาม คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของสามานยนาม และวิสามานยนามที่รวมกันมากๆ เช่น ฝูงผึ้ง 
โขลงช้าง , กองทหาร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

กองยุวกาชาดมาตั้งค่ายอยู่ที่นี่
พวกเราไปต้อนรับคณะรัฐมนตรี

         5.อาการนาม คือ คำเรียกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาด จะมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า เช่น การกิน
 กรานอน , การเรียน , ความสวย , ความคิด , ความดี เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

การวิ่งเพื่อสุขภาพไม่ต้องใช้ความเร็ว
การเรียนช่วยให้มีความรู้

          ข้อสังเกต คำว่า "การ" และ "ความ" ถ้านำหน้าคำชนิดอื่นที่ไม่ใช่คำกริยา หรือวิเศษณ์จะไม่นับว่าเป็น
อาการนาม เช่น การรถไฟ , การประปา , ความแพ่ง เป็นต้น คำเหล่านี้จัดเป็นสามานยนาม

หน้าที่ของคำนาม

1.ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น

น้องร้องเพลง
ครูชมนักเรียน
นกบิน

2.ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น

แมวกินปลา
ตำรวจจับผู้ร้าย
น้องทำการบ้าน

3.ทำหน้าที่เป็นส่วยขยายคำอื่น เช่น

สัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า
ตุ๊กตาหยกตัวนี้สวยมาก
นายสมควรยามรักษาการเป็นคนเคร่งครัดต่อหน้าที่มา

4.ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น

แม่ไปตลาด
น้องอยู่บ้าน
เธออ่านหนังสือเวลาเช้า

5.ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยาบางคำ เช่น

เขาเหมือนพ่อ
เธอคล้ายพี่
วนิดาเป็นครู
เธอคือนางสาวไทย
มานะสูงเท่ากับคุณพ่อ

6.ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เช่น

เขาเป็นคนเห็นแก่ตัว
พ่อนอนบนเตียง
ปู่ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล

7.ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน เช่น

คุณครูคะหนูยังไม่เข้าใจเลขข้อนี้ค่ะ
คุณหมอลูกดิฉันจะหายป่วยไหม
นายช่างครับผมขอลากิจ 3 วัน

   คำสรรพนาม
        คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามในประโยคสื่อสาร เราใช้คำสรรพนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำๆ

ชนิดของคำสรรพนาม แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้

         1. สรรพนามที่ใช้ในการพูด (บุรุษสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้ในการพูดจา สื่อสารกัน
ระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) และผู้ที่เรากล่าวถึง มี 3 ชนิด ดังนี้

1) สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้ส่งสาร (ผู้พูด) เช่น ฉัน ดิฉัน ผม ข้าพเจ้า เรา หนู เป็นต้น
2) สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้รับสาร (ผู้ที่พูดด้วย) เช่น ท่าน คุณ เธอ แก ใต้เท้า เป็นต้น
3) สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น ท่าน เขา มัน เธอ แก เป็นต้น

          2. สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม)สรรพนามนี้ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า
และต้องการ
จะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

บ้านที่ทาสีขาวเป็นบ้านของเธอ(ที่แทนบ้าน เชื่อมประโยคที่ 1บ้านทาสีขาว กับ ประโยคที่ 2 บ้านของเธอ)

          3. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า เมื่อต้องการเอ่ยซ้ำ
 โดยที่ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก และเพื่อแสดงความหมายแยกออกเป็นส่วนๆ ได้แก่คำว่า บ้าง ต่าง กัน ตัวอย่างเช่น

นักศึกษาต่างแสดงความคิดเห็น
สตรีกลุ่มนั้นทักทายกัน
นักกีฬาตัวน้อยบ้างก็วิ่งบ้างก็กระโดดด้วยความสนุกสนาน

         4. สรรพนามชี้เฉพาะ (นิยมสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงที่อยู่ เพื่อระบุให้
ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น โน้น ตัวอย่างเช่น

นี่เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปีนี้
นั่นรถจักรายานยนต์ของเธอ

          5. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่กล่าวถึงโดยไม่
ต้องการคำตอบไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด สิ่งใด ใครๆ อะไรๆๆ ใดๆ ตัวอย่างเช่น

ใครๆก็พูดเช่นนั้น
ใครก็ได้ช่วยชงกาแฟให้หน่อย
ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง
ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้

          6. สรรพนามที่เป็นคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามเป็นการถามที่ต้องการคำตอบ
 ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ตัวอย่างเช่น

ใครหยิบหนังสือบนโต๊ะไป
อะไรวางอยู่บนเก้าอี้
ไหนปากกาของฉัน
ผู้ใดเป็นคนรับโทรศัพท์

7. สรรพนามที่เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด สรรพนามชนิดนี้ใช้หลักคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มี
ต่อบุคคล ที่กล่าวถึง ตัวอย่างเช่น

คุณพ่อท่านเป็นคนอารมณ์ดี (บอกความรู้สึกยกย่อง)
คุณจิตติมาเธอเป็นคนอย่างงี้แหละ (บอกความรู้สึกธรรมดา)   

หน้าที่ของคำสรรพนาม

1. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ใครมา แกมาจากไหน นั่นของฉันนะ เป็นต้น
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น เธอดูนี่สิ สวยไหม เป็นต้น
3. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น เสื้อของฉันคือนี่ สีฟ้าใสเห็นไหม เป็นต้น
4. ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เช่น เธอเรียนที่ไหน เป็นต้น

ความรู้วิชา วิทยาการคำณวน

 ผลงานที่1 รหัสมอส

kanyarat = _. _. _ _. _. _ _. _. . _ _

Namkhao =  _. . _ _ _ _. _ ....

ผลงานที่2 การสร้างเกมส์


ผลงานที่3 ภาพgif  animation




Ebook

  สรุปบทเรียนหน่วยที่ 4