Hetalia Mochi - Ukraine

ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่blogการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

ความรู้วิชา ภาษาอังกฤษ

 

ความรู้ที่1 must mustn't

must 

must ใช้ในกรณีที่เราคิดเองว่าต้องทำ โครงสร้างคือ must + verb infinitive (กริยาช่อง1) เช่น

I must finish this work today.
(ฉันต้องทำงานนี้ให้เสร็จวันนี้ : ตัวเราคิดเองว่าจะทำให้เสร็จวันนี้)
 

mustn’t (must not)

mustn’t หมายถึง “ต้องไม่...”  ซึ่งเป็นกฎหรือข้อบังคับว่า “ห้ามทำ” โครงสร้างคือ mustn’t + verb infinitive (V.1) เช่น

 In football you mustn’t touch the ball with your hands.

(ในกีฬาฟุตบอลคุณต้องไม่ให้มือของคุณสัมผัสโดนลูกบอล : เพราะเป็นกฎของกีฬาฟุตบอล) 

ความรู้ที่2 countable  uncountable
count แปลว่า นับ, able แปลว่า สามารถทำได้, count + able = countable แปลว่า สามารถนับได้ เพราะฉะนั้น countable nouns จึงมีความหมายว่า คำนามที่สามารถนับได้ หรือ คำนามนับได้ นั้นเอง

เช่นเดียวกับ uncountable nouns เมื่อเราใส่ un- ไว้หน้าคำศัพท์ใดๆจะมีความหมายว่าไม่ ทำให้มีความหมายตรงข้ามกับคำเดิม ดังนั้น uncountable nouns จึงมีความหมายว่า คำนามนับไม่ได้


ความรู้วิชา สังคม

 


เรื่องที่1 อุปสงค์ อุปทาน
ในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน อุปสงค์  หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน  หมายถึง ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการ ในแบบจำลองนี้ อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดโดยตลาดอยู่ในภาวะสมดุลถ้าปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน
เรื่องที่2 เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ 

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ความรู้วิชา คณิตศาสตร์

 

เรื่องที่1 เอกนาม

ในทางคณิตศาสตร์ เอกนาม  คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยที่เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก
องค์ประกอบของเอกนาม                                                                                    ดีกรี คือ ผลรวมเลขชี้กำลังของตัวแปรทั้วหมดในเอกนาม รวมทั้งเลขชี้กำลัง 1 สำหรับตัวแปรที่ไม่มีเลขชี้กำลังกำกับ เช่น ดีกรีของ  คือ 1+1+2 = 4 สำหรับดีกรีของจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์ คือศูนย์ เช่น ดีกรีของ -7 คือ 0

    • สัมประสิทธิ์ คือ ค่าคงตัวของเอกนาม สำหรับตัวแปรที่ไม่มีค่าคงตัวถือว่ามีสัมประสิทธ์เท่ากับ 1 เช่น สัมประสิทธิ์ของ  คือ 1

    เรื่องที่2พหุนาม

    พหุนาม ในคณิตศาสตร์ หมายถึง นิพจน์ที่สร้างจากตัวแปรอย่างน้อยหนึ่งตัวและสัมประสิทธิ์ โดยใช้การดำเนินการแค่ การบวก การลบ การคูณ และการยกกำลังโดยที่เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบเท่านั้น ตัวอย่างของพหุนามตัวแปรเดียวที่มี x เป็นตัวแปร เช่น x2 − 4x + 7 ซึ่งเป็นฟังก์ชันกำลังสอง

    เรื่องที่3 เปอร์เซนต์ร้อยละ

     คำว่า "ร้อยละ" หมายถึง การเปรียบเทียบจำนวนที่ต้องการหากับจำนวนทั้งหมดที่กำหนดให้เป็น 100 ใช้สัญลักษณ์ % หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เปอร์เซนต์    { %}

    ความรู้วิชา การงาน

     

    ผลงานที่1 พับกุหลาบ,กระทง


    ผลงานที่2 พับบายศรี


    ผลงานที่3 การจัดขนมไทย



    ผลงานที่4  ตะโก้เผือก




    ผลงานที่5 บัวลอย











    ความรู้วิชา วิทยาศาสตร์

     


    เรื่องที่1 สารและสมบัติของสาร

    สาร คือ สารที่ศึกษาค้นคว้าจนทราบ
    สมบัติและองค์ประกอบที่แน่นอนซึ่งก็คือเนื้อของสารนั่นเอง
     สมบัติของสาร มี 2 ประเภท คือ
     1.สมบัติกายภาพ  หมายถึง สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอก และ เกี่ยวกับวิธีการทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น , จุดเดือด , จุดหลอมเหลว
    2) สมบัติทางเคมี  หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีและองค์ประกอบทางเคมีของสาร เช่น การติดไฟ การผุกร่อน การทำปฏิกิริยากับน้ำ การทำปฏิกิริยากับกรด – เบส เป็นต้น

    สสาร เป็นสิ่งที่มีมวลต้องการที่อยู่ แบ่งได้หลายประเภท

    - ใช้สถานะเป็นเกณฑ์
    ของแข็ง(solid)=รูปร่างและปริมาตรไม่เปลี่ยนตามภาชนะ
    ของเหลว(liquid)=รูปร่างเปลี่ยนแปลงตามภาชนะ
    แก๊ส(gas)=รูปร่างและปริมาตรเปลี่ยนแปลงตามภาชนะ
    -ใช้การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์
    ธาตุ:โลหะทุกชนิดนำไฟฟ้า/โลหะทุกชนิดไม่นำไฟฟ้า
    สารประกอบ:สารประกอบไอออนิกถ้าเป็นของแข็งจะไม่นำไฟฟ้าแต่ถ้าหลอมเหลวหรือสารละลายจะนำไฟฟ้าได้

    Ebook

      สรุปบทเรียนหน่วยที่ 4